THAI REAL ESTATE
BUSINESS SCHOOL
Eng
Thai
เงื่อนไขต่างชาติซื้ออสังหาฯ ในไทย ล่าสุด! 2023
ดูทั้งหมด Post: 02 ตุลาคม 2023
Share via
   

ต่างชาติซื้ออสังหาฯในเมืองไทยได้หรือไม่?

 

 

ถ้าหากต่างชาติจะซื้อสังหาบ้านเรา จะทำได้หรือไม่? อย่างไร? โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จึงได้ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้ดูกัน โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก ดังนี้

 

ปัจจุบันต่างชาติจะซื้อบ้าน ที่ดินได้อย่างไร?

 

ซื้อคอนโดโควต้าต่างชาติได้
- ต่างชาติซื้อคอนโดมิเนียมได้ไม่เกิน 49% ของเนื้อที่ขายของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้น ๆ โดยสัดส่วนกรรมสิทธิ์ที่ถือครองโดยชาวต่างชาติของอาคารคอนโดมิเนียมแต่ละแห่งจะจดทะเบียนไว้ที่กรมที่ดิน และนิติบุคคลของอาคาร หากต้องการซื้อคอนโดควรตรวจสอบกับผู้ขายให้มั่นใจว่า คอนโดห้องดังกล่าวจดทะเบียนไว้ภายใต้กรรมสิทธิ์การถือครองโดยชาวต่างชาติ หรือ ยังเหลือสัดส่วนสำหรับให้ชาวต่างชาติถือกรรมสิทธิ์หรือไม่

 

ซื้อที่ดิน Freehold ไม่ได้! 
- ไม่สามารถใช้ชื่อของตนเองเป็นเจ้าของที่ดินได้ แต่สามารถจัดตั้งบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศไทยได้ และถือครองที่ดินนั้นในนามนิติบุคคลแทน โดยที่ดินจะเป็นของบริษัทไม่ใช่ของชาวต่างชาติ
- สามารถทำสัญญาเช่าระยะยาวได้ (Leasehold) โดยทั่วไปมักทำสัญญาเป็นระยะเวลา 30 ปี และสามารถต่อสัญญาได้สองครั้ง ครั้งละ 30 ปีรวมเป็นระยะเวลาทั้งหมด 90 ปี

 

2 มาตรการอสังหาฯ เอื้อชาวต่างชาติ ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป

ปัจจุบันรัฐบาลยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนในภาคอสังหาฯ โดยเน้นกลุ่มชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าประเทศไทย ได้แก่

 

1. ออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว (Long-term resident visa) การอนุญาตให้คนต่างชาติบางกลุ่ม เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษตามมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยดึงคนต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้ามาพักในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้


1.1. กำหนดประเภทการตรวจลงตรา สำหรับผู้พำนักระยะยาวขึ้นใหม่ (Long-term resident visa: LTR Visa)
1.2. กำหนดคุณสมบัติของต่างชาติ ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งสูง, กลุ่มคนที่เกษียณอายุ, กลุ่มคนที่มาทำงานในประเทศไทย และกลุ่มคนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รวมไปถึงผู้ติดตามด้วย (คู่สมรสและบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งต้องมีอายุไม่เกิน 20 และไม่เกิน 4 คน)
1.3. กำหนดให้ต่างชาติและผู้ติดตาม เสียค่าธรรมเนียมในการลงตราครั้งเดียว จำนวน 50,000 บาท (จากเดิม 100,000 บาท) และสามารถยื่นขอใบอนุญาตการทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

 

2. มาตราการดึงต่างชาติ 4 กลุ่ม ซื้อที่ดินในไทย
ด้วยมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ที่หน่วยงานภาครัฐได้ประกาศออกมานั้น ทำให้การดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าประเทศไทย เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการสร้างรายได้ การลงทุน และเพิ่มอัตราการจ้างงานในประเทศ โดยเน้นไปที่ 4 กลุ่มเป้าหมายตามทีไ่ด้กล่าวไว้ในข้อ 1.2 โดยสาระสำคัญของทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวสามารถครอบครองที่ดินได้ มีรายละเอียดดังนี้

 

 

2.1. ได้รับสิทธิในที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ ตามมาตรา 96 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งต้องใช้ที่ดินนั้นเพื่อประโยชน์แก่การอยู่อาศัยของตนเท่านั้น ไม่สามารถทำเพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้
2.2. ต้องมีที่ดินอยู่ในเขตกรุงเทพฯ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล หรืออยู่ในบริเวณที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
2.3. ต้องมีเงินในการลงทุงธุรกิจหรือกิจการประเภทพใดประเภทหนึ่ง ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และต้องลงทุนไม่ต่ำว่า 3 ปี
2.4. หากมีการถอนการลงทุนในธุรกิจหรือกิจการ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ถอนการลงทุน 
2.5. ระยะเวลาบังคับใช้กฎหมายเป็นเวลา 5 ปี

 

 

มาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐนั้น ยังช่วยเพิ่มเติมหลักการในส่วนของประเภทการลงทุน และระยะเวลาการดำรงการลงทุนจากเดิม 5ปี ลดเหลือ 3ปี ซึ่งมีความแตกต่างจากกฎกระทรวงของเดิมที่ีมีการกำหนดไว้ซึ่งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้นั่นเอง ซึ่งข้อกฎหมายในเรื่อง การได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ฉบับเพิ่มเติมนี้ ยังอยู่ระหว่างการทบทวนรายละเอียด ซึ่งทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าข้อกำหนดดังกล่าวอาจเอื้อผลประโยชน์ให้ต่างชาติมากเกินไป จนส่งผลเสียต่อคนไทยในอนาคต

 

นอกจากบทความดีๆรวบรวมมาฝากแล้ว โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ยังเป็นสถาบันระดับนานาชาติที่เปิดสอนให้ความรู้ด้านอสังหาฯมากมาย อาทิ หลักสูตร นายหน้าอสังหาฯ เพื่อสอบบัตรตัวแทนนายหน้า , หลักสูตร รวมข้อกฎหมายอสังหาฯ , หลักสูตร การวางแผนภาษี , หลักสูตร นักพัฒนาอสังหาฯ , หลักสูตร การบริหารงานก่อสร้าง เป็นต้น

 

 

สามารถติดต่อและสอบถามบริการ TREBS (อบรม-สัมมนา) และ AREA (ประเมิน-วิจัย)
โทร: 02-295-3905 ต่อ 114
Email: lek2@area.co.th
Line ID : @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e

 

ขอขอบคุณที่มา: DD Property