THAI REAL ESTATE
BUSINESS SCHOOL
Eng
Thai
เรื่องต้องรู้ !! พ.ร.บ. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Update 2562) พร้อมสูตรคำนวณ !!!
ดูทั้งหมด Post: 27 พฤษภาคม 2022
Share via
   

เรื่องต้องรู้ !! พ.ร.บ. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Update 2562) พร้อมสูตรคำนวณ !!!

 

          สำหรับกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นกฎหมายใหม่ 2562 ที่มาแทนกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ โดยกฎหมายฉบับใหม่ (อัพเดท 2562) มีจุดมุ่งหมายในการช่วยลดความเลื่อมล้ำในสังคมและเพิ่มการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะเป็นผู้จัดเก็บภาษีโดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแล ซึ่งหากมีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้จริง ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับ อปท. เพื่อนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่นในด้านสังคมอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังสามารถลดการถือครองที่ดินเพื่อการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย

 

          จากที่พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ประกาศออกมาในวันที่ 12 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมานี้ ทางทีมงาน TREBS จึงได้นำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ฉบับ Update โดยสรุปมาให้ผู้ที่สนใจได้อ่านดังนี้


เนื้อหาใจความสำคัญ

  • ประกาศ 12 มีนาคม 2562 แต่เริ่มบังคับใช้ 1 มกราคม 2563
  • ยกเลิกภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  • แบ่งประเภทของที่ดินออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, พาณิชยกรรม และที่ดินรกร้างว่างเปล่า
  • เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มกราคมของปี ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะต้องเสียภาษในปีนั้นๆ
  • จะต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายน ของปีนั้นๆ หากเกินจะมีค่าปรับ
  • กรมธนารักษ์จะเป็นผู้กำหนดราคาประเมินและวิธีการคำนวณภาษี
  • ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน เช่น เช่า เซ้งสิทธิ์ แต่เป็นเจ้าของอาคารก็เสียภาษี (เฉพาะส่วนอาคาร)
  • บุคคลธรรมดา จะได้รับการลดหย่อนของฐานภาษีในช่วง 2 ปีแรก (ปี 2563-2564)
  • เฉพาะที่ดินเพื่อการเกษตรที่เป็นบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีในช่วง 3 ปีแรก (ปี 2563-2565)
  • บ้านหลังหลัก (บ้านที่เจ้าของมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน) ได้สิทธิการลดหย่อน
  • ทรัพย์บางประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษี อาทิ ศาสนสมบัติที่ไม่ได้หาผลประโยชน์, ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด และหมู่บ้านจัดสรร, ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม, ศาสนสมบัติที่ไม่ได้หาผลประโยชน์
  • มีมาตรการบรรเทาภาระภาษี ในช่วง 3 ปีแรก (ปี 2563-2565) โดยหากคำนวณภาษีแล้ว ภาษีที่ต้องจ่ายเกินจากที่ปกติได้จ่ายภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่จากปีก่อนหน้า ส่วนต่างที่เกินจะคำนวณเพียง 25%, 50% และ 75% ของภาษีที่จ่ายเพิ่ม ในปีที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ

         

          *** ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2562 นายเอ เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่จำนวน 100 บาท โดยเมื่อมีมาตรการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2563 นายเอ คำนวณภาษีได้จำนวน 120 บาท เพิ่มจากที่ต้องจ่ายเดิมในปีก่อนหน้าจำนวน 20 บาท ทั้งนี้มาตรการบรรเทาภาระภาษีกำหนดให้ในปีแรกคำนวณภาษีเพียง 25% ของส่วนที่เกิน ดังนั้นในปี 2563 นายเอ จะจ่ายภาษีคิดเป็น
 

100 บาท (ภาษีที่จ่ายปี 2562) + 5 บาท (ส่วนเกิน 20 x 25%) = 105 บาท
ซึ่งจำนวน 105 บาท คือเงินที่จะต้องจ่ายในปี 2563

 


หลักสูตร การวางแผนภาษีและการจัดทำบัญชีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (RE151)
 


วัตถุประสงค์ของการปรับกฎหมาย

  • อุดช่องโหว่ของภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดินเดิม เช่น อัตราภาษีถดถอย การเก็บภาษีซ้ำซ้อน เป็นต้น
  • กระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน โอกาสการมีที่ดินรกร้างว่างเปล่าในตัวเมืองลดน้อยลง เกิดการพัฒนาพื้นที่ตัวเมืองขึ้น
  • ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น เทศบาล อบต. ทำงานอย่างมีอิสระและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้เงินกระจายสู่ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

ใครได้ประโยชน์ใครเสียประโยชน์

  1. ได้ประโยชน์
    • ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง เนื่องจากมีการผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ดินในตัวเมือง (ที่ดินมูลค่าสูง) ไม่ให้เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า
    • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการบริหารจัดการทรัพย์ที่อยู่ในท้องที่นั้นๆ มากยิ่งขึ้น
     
  2. เสียประโยชน์
    • เจ้าของที่ดินรกร้างว่างเปล่า ต้องนำที่ดินตัวเองมาพัฒนาให้เกิดการใช้งาน เนื่องจากปล่อยทิ้งไว้จะต้องเสียฐานภาษีที่สูงขึ้น
    • ผู้ที่มีมูลค่าทรัพย์สินที่สูง จะต้องเสียภาษี โดยคำนวณที่อัตราภาษีที่สูงขึ้น
    • เจ้าของบ้าน และห้องชุด เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการเสียภาษีรายปี (ไม่นับภาษีที่ได้รับจากการซื้อ-ขาย)

ถ้าไม่มีจ่ายจะเป็นอย่างไร

  • ในกรณีค้างการชำระเกินกำหนด ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีอำนาจในการออกคำสั่ง ยึด อายัด และขายทอดตลาด ทรัพย์เพื่อมาชำระหนี้ได้ ซึ่งกรณีนี้จะเกิดขึ้น หลังจาก 90 วัน ตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งเตือน การค้างชำระภาษี
  • ซึ่งหากเรียงช่วงเวลา (Timeline) ของการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะมีลำดับดังนี้
    • 1 มกราคม มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์
    • เดือนเมษายนเป็นช่วงสุดท้ายของการเสียภาษี โดยที่ไม่มีค่าปรับ
    • เดือนพฤษภาคม อปท. เริ่มมีการทำหนังสือแจ้งเตือนให้มาจ่ายภาษี พร้อมกับมีเบี้ยปรับ
    • ภายหลังจากที่เจ้าของได้รับหนังสือแจ้ง 90 วัน อปท. มีสิทธิออกหนังสือยึด อายัด และขายทอดตลาด

สำหรับชุดคำถามที่ต้องเช็คก่อนคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถเช็คได้ที่ Tooktee.com
แบบคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อนำไปยื่นในปี พ.ศ.2563

 


          เรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเรื่องสำคัญ โดยในปี 2563 มีกำหนดจ่ายภายในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงกำหนดจ่ายในทุกๆ ปี ซึ่งใครมีที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษี สามารถคำนวณภาษีได้จาก "แบบคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำไปยื่นเสียภาษีในปี พ.ศ. 2563" บนเว็บไซต์ Tooktee.com ได้ หรือหากต้องการอ่านกฎหมายฉบับเต็ม สามารถอ่านได้จากลิงค์นี้ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562

          สำหรับเจ้าของที่ดินหรือร่วมไปถึงนักลงทุนต่างๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และศึกษาเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อที่ดินและธุรกิจของท่าน โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้มีการจัดอบรมภายใต้หลักสูตร “การวางแผนภาษีและการจัดทำบัญชีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” อยู่เรื่อยๆ หากผู้ใดสนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.trebs.ac.th หรือ คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดหลักสูตร


ขอขอบคุณที่มา : Tooktee.com


Tag : ภาษีที่อยู่อาศัย , กฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง , กฎหมายที่ดิน , ภาษีโรงเรือน , ภาษีโรงเรือนและที่ดิน , อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง , การวางแผนภาษี , ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง , พ.ร.บ.ฉบับใหม่ , ภาษีที่ดิน , ภาษีที่ดินใหม่ , อสังหาฯ , อสังหาริมทรัพย์