THAI REAL ESTATE
BUSINESS SCHOOL
Eng
Thai
ภาระจำยอมกับทาง จำเป็นคืออะไร ต่างกันอย่างไร? พร้อมตัวอย่าง หนังสือ จด ภาระจำยอม
ดูทั้งหมด Post: 21 พฤศจิกายน 2023
Share via
   

ภาระจำยอมกับทาง จำเป็นคืออะไร ต่างกันอย่างไร? พร้อมตัวอย่าง หนังสือ จด ภาระจำยอม

 

 

หลายคนคงสงสัยว่าภาระจำยอมกับทาง จำเป็น คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร? เพราะทั้ง 2 อย่างนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก เพราะการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละครั้งมักจะพบปัญหาในเรื่องของภาระจำยอมกับทาง จำเป็น ดังนั้น โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จึงได้รวบรวมข้อมูลข้อแตกต่างเกี่ยวกับ ภาระจำยอม และ ทาง จำเป็น มาให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทำความเข้าใจและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ไปดูกันเลย

 

ภาระจำยอม คือ สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่งที่กำหนดขึ้นโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยถูกกล่าวถึงไว้ในหลายมาตรา โดย โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จะยกมาแต่มาตราหลักคือ มาตรา 1387 ที่บัญญัติไว้ดังนี้

 

“มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น”

 

ภาระจำยอมจำเป็นต้องประกอบไปด้วยอสังหาริมทรัพย์ 2 อย่างด้วยกัน ดังนี้

1. อสังหาริมทรัพย์ที่รับภาระจำยอม ซึ่งในกฎหมายเรียกว่า "ภารยทรัพย์"
2. อสังหาริมทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากภาระจำยอม ซึ่งในกฎหมายเรียกว่า "สามยทรัพย์"

ดังนั้นภาระจำยอมจึงเกิดได้ทั้งทางนิติกรรม หรือคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายทั้งเจ้าของภารยทรัพย์ และเจ้าของสามยทรัพย์ที่มีการทำสัญญาตกลงกันให้มีภาระจำยอมเกิดขึ้น หรืออาจเกิดโดยนิติเหตุ คือ เกิดจากข้อเท็จจริงที่สามยทรัพย์ได้ประโยชน์บางอย่างมากกว่าภารยทรัพย์ จนได้ภาระจำยอม ซึ่งผลทางกฎหมายแล้ว คือ สามารถใช้ได้เป็น 10 ปีขึ้นไป

 

ดังนั้นภาระจำยอมจึงเกิดได้ทั้งทางนิติกรรม หรือคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายทั้งเจ้าของภารยทรัพย์ และเจ้าของสามยทรัพย์ที่มีการทำสัญญาตกลงกันให้มีภาระจำยอมเกิดขึ้น หรืออาจเกิดโดยนิติเหตุ คือ เกิดจากข้อเท็จจริงที่สามยทรัพย์ได้ประโยชน์บางอย่างมากกว่าภารยทรัพย์ จนได้ภาระจำยอม ซึ่งผลทางกฎหมายแล้ว คือ สามารถใช้ได้เป็น 10 ปีขึ้นไป

 

ภาระจำยอมเป็นสิทธิที่ติดตัวอสังหาฯ ไม่ใช่สิทธิที่อยู่กับเจ้าของทรัพย์ เช่น ภาระจำยอมประเภททาง ก็จะเป็นประโยชน์แก่สามยทรัพย์ให้ผู้ที่อยู่อาศัยหรือใช้สอยสามยทรัพย์นั้นสามารถใช้ทางภาระจำยอมบนภารยทรัพย์ได้เสมอ ไม่ว่าเจ้าของสามยทรัพย์หรือเจ้าของภารยทรัพย์นั้นจะเปลี่ยนไปเป็นใครก็ตาม หากภาระจำยอมประเภททางผ่านของสาธารณูปโภค เช่นสายไฟฟ้า ท่อประปา หรือสายโทรศัพท์ ก็จะเป็นประโยชน์ให้แก่สามยทรัพย์นั้นสามารถเชื่อมต่อสาธารณูปโภคผ่านภาระจำยอมบนภารยทรัพย์ได้เลยเช่นกัน

 

ทาง จำเป็น คือ สิทธิในอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เหมือนกับภาระจำยอม ซึ่งมีบทบัญญัติอยู่หลายมาตรา แต่จะยกมาแต่มาตราหลัก คือมาตรา 1349 ซึ่งบัญญัติไว้แบบนี้ครับ

 

“มาตรา 1349 ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธรณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านให้ใช้ความในวรรคก่อนบังคับ ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหาย อันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้”

 

 

 

ซึ่งทางจำเป็นจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ที่ดินแปลงหนึ่งถูกที่ดินอีกแปลงล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่สาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมสามารถผ่านที่ดินแปลงที่ล้อมอยู่ไปสู่สาธารณะได้ แต่ต้องเป็นเพียงทางที่จำเป็นเท่านั้น และสร้างความเสียหายให้กับที่ดินนั้นน้อยที่สุด ซึ่งทางจำเป็นเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงหรือที่เรียกว่านิติเหตุ คือ เกิดข้อเท็จจริงที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงทำให้เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอทางจำเป็นได้ โดยไม่มีกรณีที่เจ้าของที่ดิน 2 แปลงจะตกลงกันกำหนดทางจำเป็นขึ้นอย่างภาระจำยอมนั่นเอง

 

ข้อเหมือนของภาระจำยอมและทาง จำเป็น

  • เป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์เหมือนกัน

  • เป็นเรื่องการใช้ทางระหว่างอสังหาริมทรัพย์สองอย่างเหมือนกัน

 

ข้อแตกต่างของภาระจำยอมและทาง จำเป็น

  • ภาระจำยอมเกิดได้ทั้งทางนิติกรรม คือ การทำสัญญาระหว่างเจ้าของที่ดิน 2 แปลง และทางนิติเหตุ คือเกิดจากข้อเท็จจริงที่มีกฎหมายกำหนดผลไว้ แต่ทางจำเป็นเกิดขึ้นจากนิติเหตุเท่านั้น

  • ภาระจำยอมมีได้หลายชนิดทั้งที่เป็นทาง หรืออาจเป็นภาระจำยอมในลักษณะอื่น ๆ เช่น เพื่อการเชื่อมต่อสาธารณูปโภคก็ได้ แต่ทางจำเป็นมีแค่เรื่องใช้ทางเท่านั้น

  • ภาระจำยอมโดยนิติกรรมต้องจดทะเบียนมิเช่นนั้นไม่บริบูรณ์ คือเป็นเพียงบุคคลสิทธิ ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้กับบุคคลภายนอกได้ แต่ภาระจำยอมโดยผลของกฎหมาย (คือได้ใช้ภาระจำยอมนั้นมา 10 ขึ้นไป) และทางจำเป็น เป็นข้อจำกัดสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1338 ไม่ต้องจดทะเบียน

แต่ในทางความเป็นจริงแล้วการได้ภาระจำยอมโดยอายุความและทางจำเป็นเป็นเรื่องที่คู่พิพาทต้องอาศัยการใช้สิทธิทางศาลตัดสิน และเมื่อมีคำพิพากษาแล้วก็มักจะนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนอยู่แล้ว

 

  • ภาระจำยอมอาจมีค่าทดแทนหรือไม่ก็ได้ แต่ทางจำเป็นต้องมีค่าทดแทนเสมอ

  • ภาระจำยอมประเภททางจะมีขนาดทางเท่าใดก็ได้ แต่ทางจำเป็นต้องมีขนาดเพียงเท่าที่จำเป็นและทำให้ที่ดินแปลงที่ถูกผ่านเสียหายน้อยที่สุด ถ้าหากมีที่ล้อมหลายแปลง ก็ต้องเลือกผ่านแปลงที่จะทำให้ต้องตัดทาง และสร้างความเสียหายน้อยที่สุด

 

ตัวอย่าง หนังสือ จด ภาระจำยอม

 

>>> ตัวอย่าง หนังสือ จด ภาระจำยอม <<<

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ คงจะได้รับความรู้ไม่มากก็น้อยจากบทความนี้ที่แอดมินนำมาฝากกันนะครับ แอดมินมักพูดเสมอในทุกๆบทความที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ว่า การทำธุรกรรมสัญญาหรือเรื่องอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับอสังหาฯ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทุกคนจำเป็นต้องรู้ เข้าใจ และศึกษารายละเอียดรวมไปถึงเงื่อนไขให้เข้าใจและชัดเจนมากที่สุด เพื่อการดำเนินการด้านอสังหาฯไม่ว่าจะเพื่อธุรกรรมในด้านใดก็ตาม โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย สถาบันอบรมระดับนานาชาติ ที่มีหลักสูตรด้านอสังหาฯครอบคลุมที่สุดแห่งหนึ่ง จึงได้เล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับความรู้ด้านอสังหาฯมาโดยตลอด

 

จึงเปิดหลักสูตร สัมมนา อบรมเป็นจำนวนมาก ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อรองรับและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ที่ต้องการเสริมสร้างความรู้ความสามารถให้กับตนเองในด้านอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจ อาวุธ และสิ่งต่างๆไปต่อยอดกับการทำงานและด้านอื่นๆตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้าอบรมที่มาเรียนกับเรา หากท่านใดสนใจสามารถดูรายละเอียดหลักสูตรของทาง โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้เลย >>> รวมหลักสูตร <<<

 

 

สามารถติดต่อและสอบถามบริการ TREBS (อบรม-สัมมนา) และ AREA (ประเมิน-วิจัย)
โทร: 02-295-3905 ต่อ 114
Email: info@trebs.ac.th
Line ID : @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e

 

ขอขอบคุณ: ddproperty