หลายคนสงสัยหรือไม่ว่า หากเราไม่ยอมจ่ายค่าส่วนกลาง หรือลูกบ้านคนอื่นๆไม่จ่ายนั้น นิติบุคคล หมู่บ้าน จัดสรร สามารถดำเนินการกับลูกบ้านอย่างไรได้บ้าง และมีข้อกฎหมายใดบ้างที่มาควบคุม คุมครองไหมในกรณีนี้ วันนี้ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จะได้แจกแจงอธิบายให้ฟังกัน
กรณีนี้การดำเนินงานของ นิติบุคคล หมู่บ้าน จัดสรร เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินฯ หากมีการชำระเงินค่าสวนกลางล่าช้า ตามมาตรา 50 วรรคแรกกำหนดไว้ว่า “มาตรา 50 ผู้มีหน้าที่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตามมาตรา 49 วรรคสอง ที่ชำระเงินดังกล่าวล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับสำหรับการจ่ายเงินล่าช้าตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด”
จากข้อกฎหมายข้างต้นจะเห็นว่า การชำระค่าส่วนกลางล่าช้า กรณีบ้านจัดสรรนั้นก็มีค่าปรับเช่นกัน เพียงแต่การปรับส่วนนี้ต้องเป็นไปตามกำหนดของคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวคือ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพฯ และคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด โดยคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพฯ กำหนดให้ค่าปรับเป็นไปตามมติกรรมการหมู่บ้านจัดสรรที่มีมติในที่ประชุมเมื่อตอนจัดจัดตั้ง นิติบุคคล หมู่บ้าน จัดสรร โดยไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ หากมีการค้างชำระเกิน 6 เดือน จะเรียกเก็บเงินเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ต่อปี
ข้อกฎหมายในมาตรา 50 วรรคสอง มีการกำหนดไว้ดังนี้
“…..ผู้ที่ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป อาจถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค และในกรณีค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด…”
ดั้งนั้นจากข้อกฎหมายข้างตน จะสามารถแบ่งการค้างชำระออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
กรณีแรก ค้างชำระ 3 เดือนขึ้นไป อาจถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค
กรณีที่สอง ค้างชำระ 6 เดือนขึ้นไป จะถูกระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดิน โดยไม่มีการเพิ่มอัตราเงินเพิ่มเหมือนกับนิติบุคคลอาคารชุด
กรณีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอาคารชุดมีความคล้ายคลึงกัน แต่จะมีข้อแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เนื่อจากการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมห้องชุด กฎหมายกำหนดให้ต้องมีหนังสือปลอดหนี้มาแสดง ซึ่งหากยังมีหนี้ค่าส่วนกลางค้างชำระอยู่ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจะไม่ออกหนังาือดังกล่าวให้ ก็จะไม่สามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมห้องชุดได้
กรณีบ้านจัดสรรการออกหนังสือปลอดหนี้ เป็นหน้าที่ของ นิติบุคคล หมู่บ้าน จัดสรร ที่จะต้องทำหนังสือแจ้งสำนักงานที่ดินที่เกี่ยวข้องว่าบ้านจัดสรรหลังดังกล่าวมีหนี้ค่าส่วนกลางค้างชำระเกิน 6 เดือน ให้มีการระงับการจดทะเบียนเอาไว้ก่อน ซึ่งกรณีนี้อาจเกิดปัญญาได้ ถ้านิติบุคคล หมู่บ้าน จัดสรรไม่ได้ทำหนังสือแจ้งกับสำนักงานที่ดินว่ามีหนี้ค่าส่วนกลางค้างเกิน 6 เดือน จึงทำใหเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินยอมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ตามปกตินั่นเอง
จะเห็นได้ว่าเรื่องของ นิติบุคคล หมู่บ้าน จัดสรร มีความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากการ จัดตั้ง นิติบุคคล หมู่บ้าน จัดสรร จะมีความสำคัญแล้วการบริหารงานก็สำคัญไม่แพ้กัน ข้อมูลที่เรารวบรวมมาให้นั้น คงเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย ดังนั้น โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย สถาบันอบรมหลักสูตรด้านอสังหาฯ ระดับนานาชาติ ที่มีหลักสูตรด้านอสังหาฯครอบคลุมที่สุดแห่งหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม: นิติบุคคล อาคารชุด (คอนโด)ทำอะไรได้บ้าง?? หากลูกบ้านไม่จ่ายค่าส่วนกลาง
จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้จึงได้จัดหตั้ง หลักสูตร การจัดตั้ง-บริหารนิติบุคคลบ้านจัดสรร/อาคารชุด (RE142) ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่สนใจ ขาดความรู้ความเข้าใจ หรือผู้ที่ต้องการจะเริ่มต้นนั้นได้เข้ามาศึกษาทำความเข้าใจ ทั้งในเรื่องของข้อกฎหมาย การบริหาร ขั้นตอนต่างๆและอื่นๆที่สำคัญ เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงานได้จริงเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นนั่นเอง
สามารถติดต่อและสอบถามบริการ TREBS (อบรม-สัมมนา) และ AREA (ประเมิน-วิจัย)
โทร: 02-295-3905 ต่อ 114
Email: info@trebs.ac.th
Line ID : @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e
ขอขอบคุณ: ddproperty